มาตรฐาน ISO/IEC 17025 คืออะไร?

เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า ISO หรือ IEC กันมาบ้าง และคงมีข้อสงสัยในใจว่า ISO/IEC 17025 คืออะไร ทำไมจึงมีความสำคัญต่อโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไรบ้าง วันนี้ SiamIntercorp เรามีคำตอบ

ISO/IEC 17025 คืออะไร?

ISO/IEC 17025 คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสากลที่เป็นมาตรฐาน ที่จัดทำร่วมกันระหว่าง ISO หรือ The International Organization for Standardization และ IEC หรือ The International Electro Technical Commission) กำหนดให้เป็นมาตรฐานการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ หรือ มาตรฐานสำหรับห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ที่ว่าด้วยการทดสอบที่ครอบคลุมทุกด้านของการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ ซึ่ง ISO/IEC 17025 นำมาประเมินตั้งแต่การเตรียมตัวอย่างไปจนถึงกระบวนการเกี่ยวกับความชำนาญในการวิเคราะห์ การทดสอบ รวมถึงการเก็บบันทึกและการรายงานผลต่างๆ นอกจากนี้มาตรฐาน ISO/IEC 1702 ยังใช้ในองค์ประกอบอื่นๆ ทางด้านคุณภาพของห้องปฏิบัติการ การปฏิบัติการและการป้องกัน การควบคุมเอกสาร ตลอดจนคุณภาพของเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงงาน 

มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็นข้อกำหนดที่มีหน่วยงานเฉพาะทางโดยตรง ซึ่งมีหน้าที่ในการถ่ายมอบค่าความถูกต้องจากหน่วยมูลฐาน (S! Unit) ไปยังอุปกรณ์ภายใน เพื่อระบุมาตรฐานอย่างครอบคลุม มีผลต่อคุณภาพสินค้าที่ส่งต่อไปยังผู้บริโภค กล่าวคือ ISO/IEC 17025 คือมาตรฐานสากลที่สร้างการยอมรับในระดับนานาชาติ อีกทั้งไม่จำเป็นต้องเข้าทดสอบ หรือ ตรวจวิเคราะห์ สินค้าในประเทศคู่ค้าซ้ำอีกครั้ง เรียกได้ว่า “One Standard One Test Accepted Everywhere” เป็นมาตรฐานเดียว ตรวจครั้งเดียว ยอมรับทั่วโลก จึงทำให้ในอุตสาหกรรมการผลิตมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการได้รับใบรายงานผลที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเอง

ประโยชน์ของการทดสอบ ISO/IEC 17025 

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ISO/IEC 17025 ที่กำหนด มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

  • ใช้  ISO/IEC 17025 เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานในการรับรองความสามารถทางห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบของหน่วยรับรองต่างๆ
  • ใช้ในการรับรองมาตรฐานและยืนยันความสามารถของห้องปฏิบัติการ โดยผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการ หรือ องค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมายห้องปฏิบัติการทดสอบ และ/หรือ สอบเทียบ ที่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นไปตามอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 ที่ดำเนินการด้านระบบคุณภาพในการทดสอบ หรือ สอบเทียบ
  • ใช้  ISO/IEC 17025 เป็นเกณฑ์ประเมินห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ที่แสดงถึงคุณภาพทางวิชาการที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และมีความน่าเชื่อถือ
  • เพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิก APLAC และ ILAC ในความเทียบเท่าทางด้านความสามารถทางด้านวิชาการ
  • เพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกในการทางการค้าในระดับประเทศ รวมถึงระดับระหว่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยลดการกีดกันทางการค้าเนื่องจากการทดสอบ และลดขั้นตอนการตรวจซ้ำจากประเทศคู่ค้า

การขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025

ขั้นตอนการเตรียมการเพื่อขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการประกอบด้วย 9 ขั้นตอน คือ 

  1. ขั้นตอนเริ่มต้นเพื่อทำการศึกษารายละเอียดของข้อกำหนด ISO/IEC 17025 และข้อปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเข้าใจ
  2. ยื่นความเห็นชอบต่อผู้บริหารองค์กรเกี่ยวกับการจัดทำระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 
  3. ทำการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการ และเฝ้าระวังระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ
  4. ทำการกำหนดนโยบายและวางแผนงาน สำหรับการจัดทำระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องตามที่มาตรฐานที่ ISO/IEC 17025 กำหนด
  5. ดำเนินแผนงานและปฏิบัติตามระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการอย่างครบถ้วน
  6. ตรวจสอบและติดตามคุณภาพภายในอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าระบบคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนดทุกประการ
  7. แก้ไข ปรับปรุง ในส่วนของข้อบกพร่องที่พบจากการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
  8. จัดการประชุมภายในองค์กร เพื่อทบทวนการบริหารงานของห้องปฏิบัติการ และวางแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  9. ติดต่อหน่วยงานรับรองห้องปฏิบัติการของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ สมอ.

ขั้นตอนการให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025

ขั้นตอนการให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการของหน่วยรับรองห้องปฏิบัติการของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีดังนี้

  1. รับคำขอจากองค์กรที่มีความต้องการ
  2. เข้าดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้นห้องปฏิบัติการ
  3. ทำการตรวจประเมินเอกสารและรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง
  4. ทำการตรวจประเมิน ณ ห้องปฏิบัติการ
  5. จัดการสรุปรายงานการตรวจประเมิน เพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการ (ตามสาขา)
  6. พิจารณาให้การรับรอง ISO/IEC 17025
  7. จัดทำสรุปรายงานเพื่อยื่นเสนอต่อคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  8. จัดทำใบรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025
  9. เผยแพร่รายชื่อห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง
  10. ตรวจสอบและติดตามผลการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  11. เข้าตรวจประเมินห้องปฏิบัติการใหม่ทุก 3 ปี เพื่อรักษาคุณภาพและมาตรฐานให้มีความต่อเนื่อง

ทั้งหมดนี้คือเนื้อหาแบบเจาะลึกเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ที่ SiamIntercorp เราได้รวบรวมมาให้อย่างเข้าใจง่าย สำหรับองค์กรที่ต้องการเครื่องมือทดสอบที่จะนำไปใช้ในกระบวนการดังกล่าว เรายินดีเป็นส่วนหนึ่งที่ให้คุณได้เลือกใช้บริการด้านเครื่องมือทดสอบ บริการสอบเทียบ บริการอะไหล่และซ่อมบำรุง บริการวัด และวิเคราะห์เสียงและความสั่นสะเทือน บริการฝึกอบรม ให้คำปรึกษาด้านเครื่องมือทดสอบ ด้วยทักษะและความชำนาญด้านเครื่องมือทดสอบมากกว่า 20 ปี

ขอบคุณข้อมูลจาก : tisi.go.th